head

การประกาศรับซื้อไฟฟ้า ปี 2537

ข้อเสนอต่างๆ ของผู้ลงทุนจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในเอกสารประกาศรับซื้อไฟฟ้านี้  ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ

     1. ประกาศรับซื้อไฟฟ้า (Request for Proposal หรือ RFP)

     เป็นเอกสารที่แสดงเกณฑ์ในการประเมินและคัดเลือกผู้ลงทุน รวมทั้งเป็นแนวทางและข้อเสนอต่างๆที่อยู่ ในสัญญา ซื้อไฟฟ้า, มาตรฐานและเงื่อนไขทาง เทคนิคเกี่ยวกับ โรงไฟฟ้าและการปฏิบัติการ และหัวข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

     2. สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement หรือ PPA)

     เป็นสัญญาระหว่าง กฟผ. กับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ที่กล่าวถึงการผลิตและขายไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนให้กับ กฟผ. สัญญาฉบับนี้จะระบุถึงข้อปฏิบัติใน การเดินเครื่อง (operating characteristics) ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (availability payments) ค่าพลังงานไฟฟ้า (energy payments) มาตรฐานทางสิ่งแวดล้อม (environmental quality standards) การเก็บเชื้อเพลิงและสัญญาซื้อเชื้อเพลิง (fuel stocking and fuel purchase agreement) แผนงานก่อสร้าง ระบบส่งเชื่อมโยงระหว่างโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนกับระบบของ กฟผ. (new transmission facilities and construction schedule) กำหนดการณ์ สำคัญตามสัญญา(contracted milestones) ค่าเสียหายกรณีผิดสัญญา (liquidated damages) เหตุสุดวิสัย (force majeures) และอื่นๆ

     3. มาตรฐานและเงื่อนไขทางเทคนิคเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าและการปฏิบัติการ (Grid Code)

     เป็นเอกสารที่ระบุข้อกำหนดทั่วไปของระบบและความต้องการต่างๆ รวมถึงระเบียบวิธีการเชื่อมโยง การเดินเครื่องโรงไฟฟ้า และการจ่ายไฟฟ้า ซึ่งผู้ผลิต ไฟฟ้าเอกชน จำเป็นจะต้องปฏิบัติตาม หัวข้อหลักที่ใช้ในการคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ปี 2537

     4. ข้อกำหนดของโครงการ 

       >> เป็นโรงไฟฟ้าที่ต้องเดินเครื่องสม่ำเสมอตลอดเวลา (Base load power plant)

       >> สถานที่ตั้งของโรงไฟฟ้า ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจะเป็นผู้เสนอที่ตั้งโครงการ โดยสถานที่ตั้งมีลำดับความสำคัญดังนี้ คือ ที่ต้องอยู่ในบริเวณภาคกลาง แถบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้านตะวันตก และแถบชายฝั่งทะเลอ่าวไทยด้านตะวันออก ตามลำดับ 

       >> เชื้อเพลิงที่ใช้จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน มีราคาที่แน่นอน แหล่งจ่ายจ่ายเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริม ต่อนโยบาย การใช้เชื้อเพลิงหลากหลายชนิด 

             1) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนต้องจัดทำรายงานผลการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment; EIA)
             2) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการขอใบอนุญาตในการก่อสร้างและเดินเครื่องโรงไฟฟ้า 
             3) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจะต้องสร้าง เป็นเจ้าของ และเดินเครื่องโรงไฟฟ้า รวมทั้งจัดหาเชื้อเพลิง 
             4) คณะอนุกรรมการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐบาล จะเป็นผู้ประเมิน คัดเลือก และแจ้ง ให้ผู้ลงทุนที่ได้รับคัดเลือกทราบ

        ในการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจะพิจารณาจากความเหมาะสมของปัจจัยด้านราคา (price factor) และด้านเทคนิค (Non-price factor) ซึ่งประกอบด้วย ความเป็นไปได้ของโครงการ (project viability) ระดับความพร้อมของโครงการ (level of development) ชนิดและสัดส่วน ของเชื้อเพลิง (fuel type and diversity) สถานที่ตั้งโครงการ (site lacation) การใช้บุคลากรและ ทรัพยากร (utilization of lacal manpower and resources) หลักทรัพย์ ของโครงการ (project connection costs security) ประสบการณ์และความสามารถของกลุ่มผู้ลงทุนในการจัดการทางด้าน การเงิน (experience and ability of bidder to arrange financing for the construction of the project) การเพิ่มมูลค่าทางเทคนิคของ โครงการ (technical appreciation of the work to be performed) การขอเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อไฟฟ้า (proposed changes to the Model Power Purchase Agreement) ผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม (environmental impact) ความสามารถในการจ่ายไฟ (Dispatchability) และปัจจัยอื่นๆที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายและ/หรือแผน การดำเนินการ