head

การคัดเลือกโครงการ ปี 2537

     การประเมินและคัดเลือกข้อเสนอจาก IPP ดำเนินการภายใต้คณะอนุกรรมการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน  มีหน้าที่กำหนดรายละเอียดของหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินและคัดเลือก  ประเมินและคัดเลือกข้อเสนอ  ตลอดจนดำเนินการเจรจาเพื่อจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระหว่าง กฟผ. กับผู้ยื่นข้อเสนอ

     คณะอนุกรรมการประเมินและคัดเลือกข้อเสนอการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน   ประกอบด้วย

     1. ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย                                                        เป็นประธานคณะอนุกรรมการ

     2. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.)                     เป็นอนุกรรมการ        

     3. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)         เป็นอนุกรรมการ       

     4. ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)                                                          เป็นอนุกรรมการ   

     5. ผู้ช่วยผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจ                                                                                 เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ  

     กลุ่มทำการประเมินข้อเสนอ  ประกอบด้วย

     1.  หน่วยงานของ กฟผ. ที่เกี่ยวข้อง

     2. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

     บริษัทที่ปรึกษา  ประกอบด้วย

     1. บริษัท เลแมน บราเธอส์                                     เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางด้านการเงิน

     2. บริษัท พาวเวอร์ เทค แอสโซซิเอส                     เป็นบริษัทที่ปรึษาทางด้านเทคนิค 

     3. บริษัท เฟรชฟิลส์                                              เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย

     หลักเกณฑ์ในการประเมินและคัดเลือก

  • หัวข้อหลักในประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนปี 2537

          1) ขั้นตอนและเกณฑ์การประเมินข้อเสนอ 

          2) น้ำหนักการให้คะแนน 

          3) สัญญาการรับซื้อไฟฟ้า 

          4) โครงสร้างค่าไฟฟ้า

  • หลักเกณฑ์การให้คะแนนในการคัดเลือกข้อเสนอ

         1) ปัจจัยด้านราคา (Price Factors) น้ำหนักคะแนน 60 เปอร์เซ็นต์

             - พิจารณาจากราคาต่อหน่วยของค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดอายุสัญญา (Levelized Generation Costs; LGC) 

             - ใช้แบบจำลองการเงินอย่างง่าย (short form life cycle model) ในการคำนวณค่าไฟฟ้าต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง โดยพิจารณา จากค่าต่างๆที่ถูกเสนอ ดังนี้ 

                  a) ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (AP)

                  b) ค่าเชื้อเพลิง (Fuel Costs)

                  c) ค่าเดินเครื่องและบำรุงรักษา

                  d) ค่าสายส่ง (Connection Cost) (O&M Costs)

             - ใช้อัตราส่วนลด 12% (discount rate 12%) 

             - องค์ประกอบของราคาโครงการ ได้แก่ 

                 a) การปรับค่าใช้จ่ายเพิ่ม (cost escalation) โดยใช้ค่าคงที่ค่าหนึ่งในการปรับค่าเชื้อเพลิง และค่าเดินเครื่องและบำรุงรักษาในกรณีผู้เสนอไม่ได้แจ้งค่าในการปรับมา ให้ โดยอ้างอิงกับข้อมูลที่ ผ่านมาและสภาวะตลาดปัจจุบัน 

                 b) ปัจจัยค่ากำลังผลิต (capacity factor)

                 c) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สำหรับสกุลเงินตราหลัก

        2) ปัจจัยอื่นๆ (Non-Price Factors) น้ำหนักคะแนน 40 เปอร์เซ็นต์

            - ระดับความพร้อมของโครงการ (Level of Development) (น้ำหนักคะแนน 11 เปอร์เซ็นต์) 

            - ความน่าเชื่อถือและความสามารถในการจัดการทางการเงิน (Sponsers' creditworthiness and ability to arrange financing) (น้ำหนักคะแนน 7 เปอร์เซ็นต์)

            - ประสบการณ์ของกลุ่มผู้ลงทุน (Experience of Bidders) (น้ำหนักคะแนน 7 เปอร์เซ็นต์)

            - เชื้อเพลิง (Fuel) (น้ำหนักคะแนน 4 เปอร์เซ็นต์)

            - สถานที่ตั้งโครงการ (Location and site) (น้ำหนักคะแนน 6 เปอร์เซ็นต์)

           - การขอเปลี่ยนแปลงสัญญาซื้อไฟฟ้า (Exceptions to Model PPA) (น้ำหนักคะแนน 5 เปอร์เซ็นต์)