head

ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

  • ประกาศ กกพ.  เรื่อง แนวทางการต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน และใบอนุญาตอื่นที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้ประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คลิกที่นี่ new-icon
  • ประกาศ กกพ. เรื่อง ประกาศรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน คลิกที่นี่ new-icon
  • ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการรับซื้อโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน คลิกที่นี่ new-icon
  • ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 คลิกที่นี่ new-icon
  • ประกาศ กกพ. เรื่อง ประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ปี 2565 – 2573 พ.ศ. 2565 คลิกที่นี่ new-icon

ต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า Re Biglot

  • ต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สำหรับ SPP โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน รูปแบบสัญญา Non-Firm คลิกที่นี่ new-icon
  • ต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สำหรับ SPP โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับพลังงานลม รูปแบบสัญญา Non-Firm คลิกที่นี่ new-icon
  • ต้นแบบสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สำหรับ SPP โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565 - 2573 สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System : BESS) รูปแบบสัญญา Partial-Firm คลิกที่นี่ new-icon

ประกาศฝ่ายบัญชี

  • ประกาศ อบช. เรื่อง ราคาก๊าซธรรมชาติที่ กฟผ. จะใช้คำนวณเพื่อชำระค่าไฟฟ้า เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2566 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 กันยายน 2566 สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต คลิกที่นี่ new-icon

ประกาศวันหยุด กฟผ. ปี 2566

  • ประกาศ กฟผ. ที่ 3/2566 เรื่อง กำหนดวันหยุดงานเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2566 คลิกที่นี่ 
  • ประกาศ กฟผ. ที่ 34/2566 เรื่อง การเลื่อนวันหยุดชดเชยวันสิ้นปี 2566 และการกำหนดวันหยุดงานเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ ประจำปี 2567 คลิกที่นี่ new-icon

ประกาศวันหยุด กฟผ. ปี 2567

  • ประกาศ กฟผ. ที่ 32/2566 เรื่อง วันหยุดตามประเพณี ประจำปี 2567 คลิกที่นี่ new-icon

ความเป็นมาของ SPP

       ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีบทบาทและร่วมลงทุนในการผลิตไฟฟ้าและจำหน่ายไฟฟ้าทั้งในรูปแบบผู้ผลิตรายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (IPP) นั้น คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้พิจารณาเห็นว่าการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานนอกรูปแบบ กากเศษวัสดุเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิง และการผลิตไฟฟ้าระบบ Cogeneration เป็นการใช้พลังงานนอกรูปแบบ และเป็น พลังงาน พลอยได ้ในประเทศให้เกิด ประโยชน์มากยิ่งขึ้นอีก ทั้งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระทางด้านการลงทุนของรัฐในระบบการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า

  • 17 มีนาคม 2535: คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2535 (ครั้งที่ 36) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2535 เรื่องระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก
  • 30 มีนาคม 2535: กฟผ. ได้ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็ก (SPP) งวดที่ 1 ปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อไม่เกิน300 เมกะวัตต์ โดยกำหนดปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อรายละไม่เกิน 50 เมกะวัตต์
  • 27 ตุลาคม 2536: กพช. ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 4/2536 (ครั้งที่ 43) เรื่องแก้ไขระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP โดยให้เพิ่มปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อแต่ละรายจากเดิม 50 เมกะวัตต์ เป็น 60 เมกะวัตต์ แต่ไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ หากสภาพระบบไฟฟ้าสามารถรับได้
  • 28 พฤศจิกายน 2538: คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามมติ กพช. ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2538 (ครั้งที่ 53) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 เรื่องให้ขยายปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อจาก SPP จาก 300 เมกะวัตต์ เป็น 1,444 เมกะวัตต์
  • 1 ธันวาคม 2538: กฟผ. ได้มีประกาศเรื่องการขยายปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อจาก SPP จากเดิมที่ประกาศไว้ 300 เมกะวัตต์ เป็น 1,440 เมกะวัตต์ โดยปิดรับคำร้องเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2538
  • 9 กรกฎาคม 2539: คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามมติ กพช. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2539 (ครั้งที่ 57) เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2539 เรื่อง ให้ขยายปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP จาก 1,444 เมกะวัตต์ เป็น3,200 เมกะวัตต์ ณ จุดเชื่อมโยงระบบไบฟฟ้า โดยคัดเลือกจาก SPP เดิมที่ยื่นคำร้องขายไฟฟ้าไว้แล้วก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2538 และยังมิได้รับการคัดเลือก ให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนอกรูปแบบ กาก หรือ เศษวัสดุเหลือใช้ เป็นเชื้อเพลิงต่อไป โดยไม่กำหนดปริมาณในการรับซื้อไฟฟ้า และระยะเวลาในการรับซื้อไฟฟ้า
  • 3 กันยายน 2539: กฟผ. ได้มีประกาศตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2539 ดังนี้
    • ประกาศเรื่องการขยายปริมาณพลังไฟฟ้ารับซื้อจาก SPP และหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก SPP โดยปิดรับคำร้องเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2539
    • ประกาศเรื่องการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ประเภทพลังงานนอกรูปแบบเชื้อเพลิงกาก เศษวัสดุเหลือใช้ ขยะมูลฝอยหรือไม้ โดยรับคำร้องการขายไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2539 เป็นต้นมา
  • 2 กรกฎาคม 2540: รัฐบาลประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว มีผลทำให้ SPP ได้รับ ผลกระทบอย่างมากทางด้านการจัดหาเงินกู้ในส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ และ การนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์จากต่างประเทศ SPP จึงได้ร้องขอ ให้พิจารณาปรับปรุงราคารับซื้อไฟฟ้าและเงื่อนไขในสัญญา
  • 4 พฤศจิกายน 2540: คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามมติ กพช. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2540 (ครั้งที่ 66) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2540 เรื่องมาตรการในการแก้ไขปัญหาผู้ผลิตรายเล็ก (SPP) สรุปได้ดังนี้
    • แก้ไขสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. กับ SPP ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และสามารถจัดหาเงินกู้ได้
    • ปรับอัตราค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว โดยปรับให้เฉพาะค่าพลังไฟฟ้าบางส่วน และใช้ฐานของอัตราแลกเปลี่ยนเหมือนกับโครงการ IPP คือใช้เท่ากับ 27 บาท/เหรียญสหรัฐอเมริกา
    • เลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบ (ไม่เกิน 12 เดือนจากกำหนดเดิม) หาก SPP ไม่ประสงค์จะดำเนินโครงการต่อ ให้ กฟผ. คืนเงินค้ำประกันแก่ SPP ดังกล่าว
    • รับซื้อพลังไฟฟ้าเพิ่มเติม ซึ่ง กฟผ. และ สพช. จะพิจารณาผ่อนผันให้ตามความ เหมาะสม และ กฟผ. จะจ่ายเฉพาะค่าพลังงานไฟฟ้าตามสัญญาประเภท Firm
    • ผ่อนผันคุณสมบัติของ SPP บางประการ
  • กรกฎาคม 2541: เนื่องจาก SPP ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่อง สพช. กฟผ. และ SPP ได้เจรจาถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ โดยเปิดโอกาสให้ SPP ขอเลื่อนหรือเลิกโครงการได้อีกครั้ง
  • 16 กุมภาพันธ์ 2542: คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามมติ กพช. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2542 (ครั้งที่ 67) เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2542 เรื่องการเลื่อนกำหนดวันเริ่มต้นจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบของ SPP ดังปรากฎในแผนพัฒนากำลังผลิต PDP 99-01 ฉบับปรับปรุง และมอบหมายให้ สพช. และ กฟผ. ติดตามความคืบหน้าของ SPP อย่างใกล้ชิด และให้ สพช. และ กฟผ. ร่วมกันพิจารณาเลื่อนวันเริ่มต้นจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบได้เป็นรายๆ ไป ตามความเหมาะสม